About

ความเป็นมาของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

      สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เดิมเรียกว ่าห้องสมุดวิทยาลัยครูสุรินทร์ เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่บ้านพักอธิการบุญจิตต์ชูทรงเดช ซอยแป๊ะตี๋ ถนนธนสาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีอาจารย์บรรณารักษ์ ๑ คน คือ นายสุรพล ฤกษ์สำเร็จ ต่อมาเมื่อเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๑๙ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๙ ย้ายไปที่อาคารไม้ของวิทยาลัยเกษตรกรรม วิทยาเขตสุรินทร์ (ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์) เนื่องจากวิทยาลัยครูสุรินทร์ยังไม่มีอาคารเรียน จึงต้องอาศัยอาคารเรียนเกษตรกรรมเรียน ต ่อมา พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้ย้ายมาที ่อาคารเรียนชั ่วคราวใกล้หอพักนักศึกษาอาคารเรียนโปรแกรมวิชาดนตรีและนาฏศิลป์ พ.ศ. ๒๕๒๓ ย้ายมาอยู่ที่อาคารเรียน ๒ และย้ายไปที่อาคารหอสมุด เป็นอาคารเอกเทศ ปัจจุบันคือ อาคารองค์การนักศึกษาและสำนักกิจการนักศึกษา พ.ศ.๒๕๓๘ ย้ายอาคารหอสมุดมาที่อาคาร ๒๗ สำนักวิทยบริการ อยู่ตรงข้ามอาคาร ๑ มีทั้งหมด ๔ ชั้น
      ช่วงปี ๒๕๔๗ – ๒๕๕๔ สำนักวิทยบริการฯ มีหน่วยงานในสังกัดได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ งานวิทยบริการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์วิเทศสัมพันธ์ ศูนย์ภาษา และศูนย์ประเทศเพื ่อนบ้านศึกษา จากนั้น ปี ๒๕๕๕ ศูนย์วิเทศสัมพันธ์ย้ายไปสังกัดสำนักงานอธิการบดีและศูนย์ภาษา ศูนย์ประเทศเพื่อนบ้านศึกษาสังกัดสถาบันเอเชียศึกษา
      ปี ๒๕๕๙ ศูนย์ภาษา ย้ายจากสังกัดสถาบันเอเชียมาสังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามมติคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ในวาระการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๙
      สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทและภารกิจหลักในการสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ภายใต้การบริหารงานภายใน ซึ่งประกอบด้วย ๔ งาน ดังนี้ งานบริหารทั่วไป งานวิทยบริการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และศูนย์ภาษา เพื่อให้การบริหารงานของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามพันธกิจและขอบข่ายการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

ปรัชญา

      “เข้าถึง เข้าใจ พร้อมใช้ พร้อมบริการ”

วิสัยทัศน์ 

      สนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นมหาวิทยาลัย 4.0 ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสู่การเป็น Hub of ASEAN เป็นเสาหลักทางวิชาการในการพัฒนาท้องถิ่น

หลักการทำงาน 

      บริการเชิงรุก มุ่งเน้นผลงาน ประสานความร่วมมือ ยึดถือคุณภาพ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

พันธกิจ

      1. พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการบริหาร การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      2. พัฒนาทักษะด้านภาษาแก่นักศึกษาและบุคลากร สู่มาตรฐานสากล เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      3. จัดหา พัฒนาและบริการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือตามพันธกิจของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และมหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์

      1. เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสนับสนุนการบริหาร การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      2. เพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาแก่นักศึกษาและบุคลากร สู่มาตรฐานสากล สนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      3. เพื่อจัดหา พัฒนาและบริการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      4. เพื่อบริหารจัดการระบบสารสนเทศสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการ สนับสนุนการเรียน การสอนการวิจัย การบริการวิชาการสู่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
      5. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือตามพันธกิจของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศและมหาวิทยาลัย

เป้าประสงค์

      1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีเสถียรภาพ
      2. มีความร่วมมือทางเทคโนโลยีกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกระดับท้องถิ่น
      3. พัฒนาสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความพร้อมที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
      4. พัฒนาทักษะด้านภาษาแก่นักศึกษาและบุคลากร สู่มาตรฐานสากล
      5. พัฒนาทรัพยากรสารสนเทศให้สอดคล้องกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
      6. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ สนับสนุนการบริการวิชาการ การวิจัย และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
      7. อนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น
      8. บริการวิชาการสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
      9. พัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย

      “มีความรอบรู้ ความเป็นผู้นำ เปี่ยมคุณธรรม ประกอบสัมมาชีพ”

ขอบข่ายการบริหารจัดการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 

      1. การบริหารสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
      2. การพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีดิจิทัล
      3. การพัฒนาระบบสารสนเทศและสื่อดิจิทัล
      4. การส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา
      5. การซ่อมบำรุงและบริการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยี